ประเภทของศิลปะไทย

ประเภทของศิลปะไทย

ประเภทของศิลปะไทย ศิลปะไทย หมายถึงผลงานศิลปะที่มีการคิดค้น และสร้างสรรค์ ตามขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีรูปแบบและวิธีการเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ โดยมีการประยุกต์สร้างสรรค์ และมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไป ตามสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ศิลปะไทยเป็นสิ่งที่ศิลปินครูช่างโบราณของไทยได้สร้างสรรค์ขึ้น เป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์ โดยสร้างสรรค์ จากอุดมคติของศิลปินมาสู่ความจริงตามธรรมชาติ และได้มีการถ่ายทอดกันไปตามยุคสมัยจนถึงปัจจุบัน    

ศิลปะเกิดจากแรงผลักดันภายในของศิลปิน สะท้อนความคิด ความรู้สึก ร้อน เย็น ทุกข์ โศก ดีใจ เสียใจ เป็นการสื่อสาร และสื่อความหมาย จากความรู้สึกภายในของศิลปิน แต่ละคน อีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีความแตกต่างไปจากการใช้ภาษา พูด หรือเขียน ศิลปะไม่มีขีดจำกัดในการแสดงออก ด้วยรูปแบบวิธีการ เทคนิค เนื้อหาศิลปินเป็นส่วนหนึ่งของสังคมย่อมสะท้อน ความคิด ความรู้สึก ความเป็นไปในสังคมนั้น ๆ ศิลปะไทย เป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์ โดยสร้างสรรค์จากอุดมคติของศิลปิน มาสู่ความจริงตามธรรมชาติ และได้มีการถ่ายทอดกันไปตามยุคสมัยจนถึงปัจจุบัน

ประเภทของศิลปะ

จิตรกรรมไทย

หมายถึง การเขียนภาพ และการระบายสี ตามรูปแบบไทยอันได้แก่ การเขียนลวดลายไทย การระบายสี และการปิดทองในภาพเขียนเกี่ยวกับวรรณคดี ประวัติศาสตร์ และพุทธประวัติโดยสร้างสรรค์ลงในหอสมุดไทย ตกแต่งฉากไม้ ลับแล พนักพิงบานประตู หน้าต่าง และฝาผนังในพระอุโบสถ วิหาร หอไตร ซึ่งเรียกว่า งานจิตรกรรมฝาผนัง ตลอดจนการเขียนลวดลายรดน้ำปิดทองและลวดลายบนภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ

ประติมากรรมไทย

หมายถึง การปั้น การหล่อ การแกะ การสลัก อันเป็นลักษณะประจำชาติไทย ซึ่งเป็นงานที่มีลักษณะเป็น 3 มิติ ส่วนใหญ่เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปั้นและการหล่อพระพุทธรูป จึงเรียกงานศิลปะไทยประเภทนี้ว่า ปฏิมากรรม ซึ่งหมายถึง รูปแทนบุคคล เพื่อนำมาเคารพบูชา

สถาปัตยกรรมไทย

หมายถึง ศิลปะการก่อสร้างของไทย อันได้แก่ อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร วัง สถูป และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ และคตินิยมสามารถจัดหมวดหมู่ ตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภทคือ สถาปัตยกรรม ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเรือน ตำหนักวัง และพระราชวัง เป็นต้น บ้านหรือเรือนเป็นที่อยู่อาศัยของสามัญชน ธรรมดาทั่วไป

ซึ่งมีทั้งเรือนไม้ และเรือนปูน เรือนไม้มีอยู่ 2 ชนิด คือ เรือนเครื่องผูก และ เรือนเครื่องสับ ตำหนัก และวัง เป็นเรือนที่อยู่ของชนชั้นสูง พระราชวงศ์ หรือใช้เรียกที่ประทับชั้นรอง ของพระมหากษัตริย์สถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องศาสนา ได้แก่ โบสถ์, วิหาร, กุฎิ, หอไตร, หอระฆังและหอกลอง, สถูป, เจดีย์    

วรรณกรรมไทย

เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษาไทย เพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร ได้แก่

1. ภาษาพูด โดยการใช้เสียง

2. ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ

3. ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น ชาติไทย เป็นชาติที่มีอารยะธรรมเก่าแก่ มี ภาษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน

นอกจากนี้ ยังมีความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษาได้อย่างไพเราะ ถือเป็นความงามของการใช้ภาษา จากการแต่งโคลง กลอน คำประพันธ์ ร้อยแก้วต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำ ราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทางการใช้ภาษาที่ควรดำรง และยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี (Writer or Poet)

วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

1. ร้อยแก้ว เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวต่าง ๆ

2. ร้อยกรอง เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัส คล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความ งามของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย

ดนตรีและนาฏศิลป์ไทย 

เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้เสียง การจัดจังหวะ และท่วงทำนองของเสียง ด้วยการเล่นดนตรี และการขับร้องเพลง ที่มีผลต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์ รวมถึงการใช้ ท่าทางประกอบเสียง การเต้น ระบำ รำ ฟ้อน การแสดงละคร ฯลฯ ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวผู้สร้างสรรค์งาน เรียกว่า นักดนตรี (Musician) นักร้อง (Singer) หรือ นักแสดง (Actor / Actress) อ่านเพิ่มเติม 5 ผลงานศิลปะอันดับโลก ที่ต้องไปชมสักครั้งก่อนตาย

บทความแนะนำอื่น ๆ : วิธีเล่นสล็อตออนไลน์ ให้ได้กำไร

ประเภทของศิลปะไทย