การลงทุนใน DCA (dollar-cost averaging)

การลงทุนใน DCA (dollar-cost averaging)

การลงทุนใน DCA (dollar-cost averaging) ช่วงนี้กระแสการออมหุ้น ออมกองทุนกำลังแรงเลยทีเดียว วันนี้ pgsoft.asia จะขอแนะนำให้ท่านผู้อ่านรู้จักกับ DCA หรือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย ซึ่งเป็นแนวทางลงทุนที่ใช้วินัย และความอดทน เพื่อลดปัจจัยเรื่องอารมณ์เกี่ยวกับราคา

DCA คืออะไร?

DCA ย่อมาจาก Dollar Cost Average หรือ แปลแบบไทย ๆ คือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ย เช่น เราตั้งไว้ว่าทุกวันที่ 5 ของเดือน ให้ระบบหักเงินไปซื้อหุ้น หรือกองทุนจำนวน 1,000 บาท โดยไม่สนใจว่าราคาจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งถ้าเดือนไหน ราคาหุ้นสูงขึ้น เราก็ซื้อได้จำนวนน้อยหน่อย ถ้าราคาหุ้นลดลง เราก็ซื้อได้จำนวนมากหน่อย

เป้าหมายของ DCA

จริง ๆ แล้วสิ่งที่ DCA ทำคือการสร้างวินัย โดยการบังคับให้เราลงทุน ทุกเดือน เพื่อ “สะสม” ทรัพย์สิน เพราะหลายคนอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับราคา เช่น ราคาหุ้นลงก็ไม่กล้าซื้อ เพราะกว่าขาดทุน พอราคาหุ้นขึ้นก็ไม่กล้าซื้อ เพราะกลัวติดดอย DCA เลยช่วยตัดอารมณ์เกี่ยวกับราคาออกไป แล้วใช้วินัยเพื่อสะสมทรัพย์สินแทน

“DCA จะทำให้เราสามารถซื้อหน่วยลงทุน หรือหุ้นในจำนวนที่มากขึ้นหากราคาหุ้นปรับตัวต่ำลง และจะซื้อได้น้อยลง ในขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น”


การลงทุนแบบ DCA (dollar-cost averaging) นั้น คือการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน ขอเรียกสั้น ๆ ว่า DCA ก็แล้วกันครับ ซึ่งการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย ต้นทุน หรือ DCA ก็คือ การที่เรากำหนดการลงทุนเป็นงวด ๆ งวดละเท่า ๆ กัน อาจลงทุนเป็นรายเดือน รายไตรมาส

โดยไม่สนใจว่า ราคาหน่วยลงทุน หรือราคาหุ้นที่เราจะซื้อตอนนั้น เป็นราคาเท่าไร จะขึ้นหรือจะลง ก็ไม่สนใจ การลงทุนแบบนี้ จะเป็นระบบตัดเอาอารมณ์ความรู้สึกออกไป เป็นการลงทุนแบบอัตโนมัติไปเรื่อย ๆ โดยตั้งเป้าหมายเป็นจำนวนเงิน ที่ต้องการลงทุนเป็นหลัก การที่เราลงทุนโดยซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหรือหุ้น

ด้วยวิธี DCA จะทำให้เราสามารถซื้อหน่วยลงทุน หรือหุ้นในจำนวนที่มากขึ้น หากราคาหุ้นปรับตัวต่ำลง และจะซื้อได้น้อยลงในขณะที่ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น แต่โดยเฉลี่ยแล้ว เราจะไม่ต้องมาคอยกะเก็งการขึ้น ๆ ลง ๆ ของราคาหุ้น หรือของกองทุนที่เราต้องการซื้อเฉลี่ย ทำให้ลดความเครียดลงไปได้มากครับ

ข้อดีของการกระจายการลงทุนอย่างเป็นระบบด้วยวิธี DCA

ก็คือ ถ้าภาวะตลาดในช่วงนั้น มีความผันผวนมาก ๆ หรือเป็นตลาดขาลง เราจะมีโอกาสขาดทุนน้อยกว่า วิธีที่เราซื้อทั้งหมดในครั้งเดียว แต่ในช่วงขาขึ้นวิธีนี้ก็จะให้ผลเป็น “ค่าเฉลี่ย” ที่ไม่มีความเสี่ยงสูง และสามารถเอาชนะตลาดได้ หรือเสมอกับตลาดเป็นอย่างน้อยที่สุดครับ ลองมาดูแบบจำลอง DCA ในรอบ 1 ปี หากเราตัดซื้อเฉลี่ยหุ้นตัวหนึ่งที่มีราคาอยู่ในช่วง 6-15 บาท โดยซื้อเฉลี่ยทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท เราสามารถจำลองโอกาส ที่จะเกิดขึ้นดังต่อไปนี้

จากตารางจะเห็นว่า หากราคาหุ้นที่เราต้องการซื้อ เฉลี่ยแกว่งตัวอยู่ในช่วง 6-15 บาท ถ้าเราตัดซื้อเฉลี่ยทุกเดือน เดือนละ 3,000 บาท เราจะได้ต้นทุน 9.67 บาทต่อหุ้น ต่ำกว่าราคาหุ้นในเดือน 12 ที่ปิดไป 15 บาทต่อหุ้น โดยเราจะได้จำนวนหุ้น 3,900 หุ้น และใช้เงินไป 36,000 บาท หากเราซื้อหุ้นทีเดียวเมื่อสิ้นปีที่ราคา 15 บาทต่อหุ้น ด้วยเงินจำนวน 36,000 บาทเช่นกัน เราจะได้หุ้นเพียง 2,400 หุ้น เห็นได้ชัดเจนเลยว่าน้อยกว่าวิธีที่เราซื้อเฉลี่ย ด้วยแนวทาง DCA

ข้อดีของวิธี DCA นั้น นอกจากจะช่วยเฉลี่ยความเสี่ยงให้เราแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้อาจจะดีกว่าการกะเก็งจังหวะซื้อด้วยตัวเอง แต่ข้อดีอีกข้อหนึ่งที่สำคัญก็คือ การทำ DCA นั้น เป็นระบบที่ทำให้เรามีวินัยในการลงทุน ไม่หลงไปกับความผันผวนของตลาดในระยะสั้น ๆ ทำให้เราเกิดความต่อเนื่องในการลงทุน และสามารถใช้การลงทุนช่วยทำให้เราออมเงินได้งอกเงย สมดังความตั้งใจได้ไม่ยากครับ อ่านเพิ่มเติม 4 การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ ที่น่าสนใจเอาไว้ใช้สมัครเรียน หรือทำงาน

อ่านบทความน่ารู้ ได้ที่ : ทำงานประจำก็มีธุรกิจของตัวเองได้ กับ 6 เคล็ดลับนี้!

การลงทุนใน DCA (dollar-cost averaging)