เรื่องวิทยาศาสตร์ที่คุณยังไม่รู้

เรื่องวิทยาศาสตร์ที่คุณยังไม่รู้

เรื่องวิทยาศาสตร์ที่คุณยังไม่รู้ โลกของเราเต็มไปด้วยเรื่องพิศวง ทั้งที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้แล้ว และวิทยาศาสตร์ยังพิสูจน์ไม่ได้ ซึ่งเรื่องที่วิทยาศาสตร์พิสูจน์ได้หลายเรื่อง ก็เป็นเรื่องที่เราไม่เคยรู้

DNA เป็นสารพันธุกรรม ที่เก็บข้อมูลทางพันธุกรรม ของสิ่งมีชีวิต แต่เชื่อหรือไม่ว่า มนุษย์ทุกคนบนโลกนี้มี DNA 99 เปอร์เซ็นต์ที่เหมือนกัน ขณะที่พ่อแม่ลูกมี DNA 99.5 เปอร์เซ็นต์ที่เหมือนกัน และที่ทำให้ประหลาดใจกว่านั้น ก็คือ เราทุกคนมี DNA ที่เหมือนกับลิงชิมแปนซี ถึง 98 เปอร์เซ็นต์ทีเดียว

ในร่างกายของคนเรานั้น มีน้ำเป็นองค์ประกอบ ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ และหากขาดน้ำเพียง 3-4 วัน เราก็ไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้ ในขณะที่การดื่มน้ำมากเกินไป ก็ทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน เพราะการดื่มน้ำมากเกินไป จะทำให้เกิดภาวะน้ำเป็นพิษ (Water intoxication) โซเดียมในเลือดต่ำ ส่งผลต่อสมดุลภายในร่างกาย

มดเป็นสิ่งมีชีวิต ที่สร้างความแปลกใจให้เรา เกี่ยวกับความแข็งแรงของมัน เพราะบ่อยครั้งที่เราเห็นมด สามารถแบกอาหาร หรือ ใบไม้ ที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวของมัน ซึ่งความจริงแล้ว พวกมันสามารถแบกสิ่งที่หนักกว่าตัวของมันถึง 50 เท่าได้ ความสามารถของมดนี้ เกิดจากขนาดกล้ามเนื้อของพวกมัน ที่หนากว่าสัตว์ขนาดใหญ่อื่น ๆ หรือแม้แต่มนุษย์ เมื่อเปรียบเทียบตามสัดส่วนร่างกาย

หากมองขึ้นไปบนท้องฟ้า เราจะเห็นดวงดาวจำนวนมาก ซึ่งนาซ่าเชื่อว่าในกาแล็กซีทางช้างเผือกนี้ มีดวงดาวมากถึง 4 แสนล้านดวง แต่เชื่อหรือไม่ว่า ต้นไม้บนโลกของเรา มีจำนวนมากกว่าดวงดาวในกาแล็กซีเสียอีก โดยในปี 2015 มีการตีพิมพ์วารสาร Nature ว่า หากประเมินดูแล้ว จำนวนต้นไม้ทั่วโลกนั้น มีอยู่ถึง 3.04 ล้านล้านต้น เลยทีเดียว

เป็นก๊าซที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ และก็เป็นที่ทราบกันดีว่าออกซิเจนนั้น ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น แต่นั่นก็เป็นเพียงสมบัติ เมื่อมันอยู่ในสถานะก๊าซเท่านั้น แต่ออกซิเจนที่อยู่ในสถานะของเหลว และของแข็ง เราจะมองเห็นมันเป็นสีฟ้าจาง ๆ ได้ อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ที่เราจะได้เห็นออกซิเจนสถานะของเหลว หรือของแข็ง ในสภาวะปกติ เนื่องจากออกซิเจน ไม่สามารถอยู่ในสภาวะของเหลวได้ ที่อุณหภูมิสูงกว่า – 119 องศาเซลเซียส

กล้วยหอม มีกัมมันตภาพรังสีอยู่ เนื่องจากกล้วยประกอบไปด้วยธาตุโพแทสเซียม 450 มิลลิกรัม ซึ่งเมื่อโพแทสเซียมสลายตัว ก็จะทำให้เกิดกัมมันตรังสีจาง ๆ แต่สำหรับผู้ที่ชื่นชอบกล้วยหอม อย่าเพิ่งกังวลใจไป เพราะคุณต้องกินกล้วยถึง 10 ล้านผล จึงจะเสียชีวิต จากพิษของรังสี หรือไม่ก็กินกล้วย 274 ผลต่อวัน เป็นเวลา 1 ปี ก็จะเสียชีวิตจากการที่ร่างกายสะสมกัมมันตภาพรังสีได้เช่นเดียวกัน แต่ก่อนจะถึงตรงนั้น เราคงจะท้องอืดกันเสียก่อน

ถ้าเรามีโอกาสได้ขึ้นไปบนยานอวกาศ และใช้ชีวิตอย่างมนุษย์อวกาศ เชื่อหรือไม่ว่า เราจะไม่มีโอกาสได้เรอแบบที่อยู่บนพื้นโลกเลย ทั้งหมดนั้นเป็นเพราะเมื่อเวลาที่เราอยู่บนพื้นโลก แรงโน้มถ่วง จะช่วยดึงอาหารที่เรารับประทานเข้าไปทั้งของเหลว และของแข็งลงสู่ด้านล่าง มีเพียงก๊าซเท่านั้น ที่หลุดลอดออกมาจากปากกลายเป็นเสียงเรอได้

ขณะที่หากอยู่ในอวกาศ สภาพไร้น้ำหนัก จะทำให้ก๊าซ ของเหลว และของแข็งนั้นผสมปนเป ไม่แยกชั้นออกจากกัน สิ่งที่จะออกมาเวลาเราเรอ จึงไม่ได้เป็นเพียงก๊าซเท่านั้น แต่จะมีเศษอาหาร หรืออาเจียนออกมาด้วย ดังนั้น อาหารบางชนิด จึงถูกแบนออกจากอวกาศ เช่น ขนมปัง นม ไอศกรีม พิซซ่า และคงเป็นเรื่องที่ดีกว่าที่มนุษย์อวกาศ จะรับประทานอาหารแบบแคปซูล

เชื่อหรือไม่ โดยเฉลี่ยแล้วร่างกายของมนุษย์ มีแบคทีเรียมากกว่าเซลล์ในร่างกายถึง 10 เท่า แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะแบคทีเรียส่วนใหญ่ ที่อยู่ในร่างกายเรานี้มีประโยชน์ และในความเป็นจริง เราไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ หากปราศจากพวกมัน ตัวอย่างเช่น แบคทีเรียบางชนิดสามารถผลิตสารเคมี ที่ช่วยควบคุมพลังงาน และสารอาหาร จากอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ส่วนแบคทีเรียในลำไส้ก็มีความสำคัญมาก ในการรักษาระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย

ถกเถียงกันมานาน กับคำถามที่ว่า ไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ ได้สรุปให้แล้วว่า ไก่ เกิดก่อน ไข่ ด้วยเหตุผลที่ว่า โปรตีนซึ่งใช้ในการสร้างเปลือกไข่ จะถูกสร้างมาจากแม่ไก่ ดังนั้น ถ้าไม่มีแม่ไก่ ก็ไม่มีไข่นะ

ตั๊กแตนไม่ได้มีหูไว้คั่นหัว เพราะว่าหูของตั๊กแตนนั้นไม่ได้อยู่ที่หัว แต่อยู่ที่ท้องของมัน  หูนี้ ก็คือเครื่องตรวจจับเสียงซึ่งเป็นเยื่อบุบาง ๆ ที่เรียกว่า tympanum หรือ eardrum เป็นเหมือนเยื่อแก้วหู ที่ช่วยให้ตั๊กแตกได้ยินเสียงสื่อสารจากพวกเดียวกัน  tympanum นี้ถูกดัดแปลงให้มีการสั่นสะเทือน เพื่อตอบสนองสัญญาณบางอย่าง ที่สำคัญต่อตั๊กแตนด้วย

แหล่งความรู้เพิ่มเติม

มีการค้นพบหลักฐานบนดาวศุกร์ ที่คาดว่ามีสิ่งมีชีวิตบนนั้น

Perfectionist มนุษย์ไม้บรรทัด บ้าคลั่งความสำเร็จ

เรื่องวิทยาศาสตร์ที่คุณยังไม่รู้